"
สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สำหรับการประชุม ทีมสหวิชาชีพ ( Case conference ) จังหวัดอำนาจเจริญ หวังว่า การประชุมครั้งนี้จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงและเด็กในพื้นที่ได้เพิ่มมากขึ้นค่ะ
"
"
ชาวเพื่อนหญิงกับการประชุมสรุปงานและวางแผนการทำงาน
2557 วันที่สอง สนุกบวกความเครียดของงานที่จะปฎิบัติการ แต่ขณะเดียวกัน
ทุกคนไม่ลืมคิดเรื่องผู้หญิงกับ
การปฏิรูปประเทศ ครับ

"
วันที่ 29 มกราคม2557 มูลนิธิเพื่อนหญิง ภายใต้โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายผู้หญิง เพื่อการคุ้มครองสิทธิฯ(EU) 12 จังหวัดทางภาคอีสาน ได้จัดเวทีกลุ่มสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงเด็ก ในเขตอ.เมือง
จ.อำนาจเจริญ
โดยภาพรวม สถานการณ์ปัญหามีเรื่องความรุนแรงในครอบครัว
พ่อ แม่ เป็นหนี้ ติดเหล้า ต้องออกจากราชการครู ลูกสาวเป็นกลุ่มเสี่ยงอนาคตอาจไม่ได้ศึกษาต่อ
อีกประเด็นเป็นกรณีเด็กหญิงอายุ
3เดือน มีพ่อติดยา แม่หนี อยู่กับย่าอายุ 65 ปีเป็นเบาหวาน
และการเข้าไม่ถึงกลไกของรัฐ
ในการช่วยเหลือผู้พิการชราภาพ การประชุมทำให้เห็นทางออกร่วมกัน โดยอาศัยผู้นำหญิงที่มีสถานภาพทาง ท้องถิ่นช่วยเหลือผู้หญิงด้วยโดยการประสานหน่วย
งานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน


แกนนำสตรี สามจังหวัดชายแดนใต้ แสดง ร้อง เต้น พลัง 1เสียง ใน พันล้านเสียงผู้หญิง ร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กสตรี ทุกรูปแบบ / ที่จะมีการจัด กิจกรรมในวันที่ 14 กพ พบกันเร็วๆๆนี้
งานอบรมเครือข่ายสตรีภาคเหนือนำร่อง
ติดตามกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
เรื่องการเขียนโครงการกับการใช้สื่อออนไลน์
จัดโดย มพญ. สนับสนุนโดย  สสส

ศูนย์เพื่อนหญิง ภาคใต้ ประชุมทีมงาน วานีตา พลังหญิงสร้างสังคม .วางแผน pocket book พัฒนาโครงการและเตรียมงาน ๘ มีนา วันสตรีสากล ที่จังหวัดปัตตานี 12 กพ 2557
สวนสุขภาพ
มูลนิธิเพื่อนหญิง
เปิดร้านแล้วค่ะ

แกนนำสตรีเรียนรู้เรื่องการใช้สื่ออินเตอร์เนต
มูลนิธิเพื่อนหญิง  ภายใต้การสนับสนุนของ สสส.  ยังจัดเวทีพัฒนาทักษะแกนนำสตรี  ติดตามกองทุนฯ 2จังหวัดต่อเนื่องในเรื่องการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตกับการเข้าถึงกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 26/2/57
วิทยากรเป็นท่านประธานคกส.จ. พัทลุง มีพี่เลี้ยงเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อนหญิง
ทุกคนสนุกมากสนใจจนถอนนิ้วออกจากแป้นๆไม่ได้เลยจริงๆ

ถกปัญหาเด็กหญิงอายุ 15 ปี ที่อำเภอราษีฯถูกข่มขืนด้วยผู้ชายในหมู่บ้านแทบทุกคน..จนทำให้เด็กเสียสติหวาดกลัวทุกคนที่เข้าใกล้..และไม่มีผู้ดูแล..เด็กเป็นลูกติดพ่อมาอยู่กับแม่เลี้ยงต่อมาพ่อตายแม่เลี้ยงก็ไม่ใส่ใจให้ไปอยู่เพิงพักที่ไม่ถาวรข้างสระน้ำทำให้ผู้ชายในหมู่บ้านผ่านไปมาก็ข่มขืนเวียนกันมาหลายปี ต่อมาแม่เลี้ยงก็ตาย..เด็กกลายเป็นคนเสียสติมีญาติห่างๆของแม่เลี้ยงดูแลแบบงั้นๆ..มูลนิธิเพื่อนหญิงและกรรมการกองทุนพัฒนาบทบามสตรี คุณแม่ผ่องศรี แซ่จึง ได้ลงพื้นที่เมื่อ 2 วันที่ผ่านมาจึงได้นำปัญหามาแลกเปลี่ยนก่นเพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป..เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทยในทุกวันนี้และยังมีอีกมากมายกับปัญหาเด็กและผู้หญิงถูกกระทำโดยไร้มนุษยธรรมของมนุษย์ด้วยกัน..มีเคสที่จังหวัดยโสธรน่าสลดกว่าเคสนี้อีกค่ะ...
เครือข่าย วานีตา พลังหญิงสร้างสังคม /
วันสื่อสันติภาพ
10ปีความรุนแรง
1ปีสนามสันติภาพ
ชายแดนใต้ปาตานี
พร้อมคณะวานีตาอาสา ณ วสส. มอ.ปัตตานี

สรุปภาพรวมศูนย์มูลนิธิเพื่อนหญิง เชียงใหม่

ศูนย์มูลนิธิเพื่อนหญิง ภาคเหนือที่เชียงใหม่ประชุมจนท.และอาสาสมัคร ประจำเดือน ก.พ.-มี.ค.57
วาระการประชุม มี 3เรื่อง
สรุปภาพรวม คือ การปรับปรุงภูมิทัศน์โดยการจัดนิทรรศการมุมสุขภาพผู้หญิง
ส่วนสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว
มีCase ใหม่เข้ามา เพิ่ม 4 กรณี โดยทนายที่ปรึกษาได้ให้คำปรึกษาและดำเนินคดีต่อเนื่องให้ผู้ชายรับผิดชอบค่าเลี้ยงดู
ในขณะที่ อีกเคสที่ล่วงละเมิดคนในครอบครัว อยู่ในชั้นศาล  โอกาสรอดจากการติดคุกยากมาก แม้นจะมีการเพิ่มเงินค่าเสียหาย เพราะเป็นคดีอาญา
น่าสนใจว่า"ผู้หญิงส่วนใหญ่จะๆใช้กลไกกฏหมาย คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวฯ
แต่จะใช้แจ้งความดำเนินคดีทางอ่าญาเพราะโทษหนักกว่า ทำให้ผู้กระทำเกิดความหลาบจำ
ส่วนการเตรียมงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีกับแกนนำสตรี และปธ.คกส.ต.5ตำบลจ.เชียงใหม่ก็จัดเตรียมเรียบร้อย พร้อมจัดในวันที่24-26 มี.ค.57
ในคราวต่อไป ศูนย์ฯจะจัดGroup Support พร้อมMeeting Women Clup
อีกทั้งจัดอบรมแกนนำสตรี ตัวแทนรับCase 5คน ที่ศูนย์ฯ
โดยทนายษา เพื่อเพิ่มศักยภาพแกนนำในการช่วยเหลือผู้หญิงทางกฎหมายในอนาคต
บัณฑิต แป้นวิเศษ
รายงานจากพื้นที่

ประชุมพัฒนาระบบของกลุ่มสตรีภาคใต้

วันที่12-13 มีนาคม 57 เวทีประชุมเพื่อพัฒนาระบบและการทำงานร่วมกันภาคใต้ เพื่อการเข้าถึงกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ณ.โรงแรมชัยคณาธานี อ.เมือง จ. พัทลุง สรุปประเด็นปัญหาโดยรวมคือ1.ผู้หญิงไม่ให้ความสนใจที่จะกู้เงินกองทุนฯ เนื่องจากขั้นตอนยุ่งยากและผู้หญิงมีทางเลือกอื่นคือมีกลุ่มออมทรัพย์ที่เข้มแข็งในชุมชน ปัญหาหนี้นอกระบบ ผู้หญิงต่างภูมิลำเนาไม่สามารถรวมกลุ่มเขียนโครงการได้จึงทำให้ขบวนการหนี้นอกระบบใช้เป็นช่องทางในการปล่อยเงินกู้ ประธานกองทุนฯระดับหมู่บ้านไม่เซ็นรับรองโครงการเนื่องจากตัวเองไม่อยากรับผิดชอบและไม่เชื่อมั่นว่ากลุ่มสตรีจะสามารถคืนเงินได้ เกิดความแตกแยกระหว่างสตรีที่เข้าถึงและเข้าไม่ถึงกองทุนฯ ประกอบกับปัญหาการเมืองที่เข้าไปแทรกแซง เข้าใจผิดและคิดไปว่าเป็นเงินของรัฐบาลจึงไม่สนใจที่จะกู้เงินในกองทุนฯ ความไม่ชัดเจนของกติกาและเงื่อนไขการพิจารณาโครงการ เช่นถ้าตัวแทนระดับอำเภอไม่สนใจไม่ติดตามโครงการที่กลุ่มสตรีเสนอไปโครงการก็จะไม่ได้รับพิจารณา

ข้อดี

ถ้าตัวแทนระดับอำเภอเอาใจใส่ ติดตาม ก็จะทำให้โครงการของพื้นที่นั้นๆได้รับพิจารณาเกิดกลุ่มที่เข้มแข็ง เช่น กลุ่มอาชีพเลื้ยงผึ้ง กลุ่มปลูกดอกดาวเรือง กลุ่มผ้าบาติก กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ฯลฯ ทำให้กลุ่มสมาชิกผู้หญิงที่ได้รับการสนับสนุนมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีทักษะในการบริหารจัดการ มติในที่ประชุมแกนนำสตรี 2 จังหวัด เห็นพ้องต้องกันว่า เพื่อเปิดโอกาสและช่องทางให้ผู้หญิงมีความเข้าใจและเข้าถึงกองทุนฯมากขึ้นจึงมีมติเปิดเวทีให้ข้อมูลในพื้นที่นำร่องทั้ง 10 ตำบล โดยการประสานความร่วมมือจากแกนนำที่ผ่านการอบรมโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งคณะกรรมการและเครือข่ายสตรี เพื่อการเข้ากองทุนพัฒนาบทบาทสตรี(กองทุนฯปี2 )สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
วาณีตา ปรียาภรณ์ รายงาน